10 ท่าบริหาร ทำง่ายๆที่บ้านคุณ…^^

ท่าบริหารทั้ง 10 ท่า เป็นท่าบริหารที่ใครหลายๆคนอาจลืมไปแล้ว นึกถึงท่าง่ายๆเหล่านี้แล้วลองทำดูดีกว่าค่ะ

ท่าที่ 1

เน้นบริหารช่วยต้นขาและสะโพก

ท่าที่ 2

เน้นบริหารหน้าท้องและต้นขา

ท่าที่ 3

เน้นบริหารช่วงเอว เป็นท่าง่ายๆที่เราทำได้บ่อยๆหากเรารู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นการยืดกล้ามเนื้อ

ท่าที่ 4

เน้นบริหารแผ่นหลังและช่วงหน้าอก รวมไปถึงต้นขา

ท่าที่ 5

เน้นบริหารต้นขาและหน้าท้อง

ท่าที่ 6

เน้นบริหารหน้าขา

ท่าที่ 7

เน้นบริหารต้นขา

ท่าที่ 8

เน้นบริหารคอ

ท่าที่ 9

เน้นบริหารสะโพก

ท่าที่ 10

เน้นบริหารต้นขาและสะโพก

7 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ หมอ – คนไข้

7 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ หมอ – คนไข้

ค่านิยมของคนไทยค่อนข้างให้ความเคารพนับถือและเกรงใจต่อผู้ใหญ่ และผู้มีความรู้ ในอดีตผู้คนฝากความไว้ใจเชื่อถือและพึ่งพาต่อบุคคลในอาชีพหรือสถานะที่อาจถือเป็นเสาหลักของความเคารพและเชื่อใจ คือ ครู, พระ, หมอ แต่อย่างที่เห็นๆ กันว่าในปัจจุบันสถานการณ์กลับมิได้เป็นอย่างในอดีตอีกต่อไป เราพบเห็นวิกฤตการณ์ความเสื่อมเสียในอาชีพต่างๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนต่างๆ จนนำไปสู่สิ่งที่อาจเรียกว่า วิกฤตความศรัทธา ต่อวงการวิชาชีพต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่อยู่ในอาชีพทรงเกียรติในสังคมไทย อย่างครู พระ และหมอ

อาชีพหมออาจเป็นอาชีพสุดท้ายแล้วสำหรับสังคมไทยยุคปัจจุบันที่สังคมฝากความไว้วางใจเชื่อถือในจริยธรรม อาชีพที่ผู้คนเรียกขานว่า“คุณ” หมอ อาชีพที่เด็กๆ ใฝ่ฝันอยากจะเป็น อาชีพที่คนเก่งๆ มักจะอยากเข้าเรียนจบมาเป็นหมอ และคงเป็นไม่กี่อาชีพหรอกที่อยู่ในธุรกิจบริการที่เวลาลูกค้ามาอุดหนุนใช้บริการ แถมลูกค้าจะต้องเป็นฝ่ายยกมือไหว้ทั้งเมื่อยามเจอกันและยามจากกัน

อาจเป็นเพราะความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์-ผู้ป่วย ได้เปรียบรูปแบบจากความสัมพันธ์แบบต้องพึ่งพาในอดีต มาเป็นความสัมพันธ์แบบผู้ให้บริการ-ผู้รับบริการ หรืออาจมีความเป็นธุรกิจมากขึ้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่เรามักได้พบเห็น ไม่เข้าใจ จนนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยหรือครอบครัวของผู้ป่วย จนกระทั่งอาจนำไปสู่การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่ง หรือคดีอาญา ทำให้หมอต้องติดคุกกันมาแล้ว

ความที่แพทย์อาจถือเป็นอาชีพพิเศษ ที่ผู้คนและสังคมได้ตั้งความคาดหวังไว้สูงกว่ามาตรฐานของคนทั่วไป และเลยลืมไปว่าหมอก็คือคนธรรมดา เป็นลูกชาวบ้านบ้าง ลูกเจ๊กลูกจีน เหมือนกับเราๆ ท่านๆ นั่นเอง บทความตอนนี้ จึงอยากถ่ายทอดแง่มุมของแพทย์ที่ผู้คนมีความรับรู้อีกแบบหรืออาจมีความเข้าใจผิดในตัวหมอมาโดยตลอด

1. หมอเลี้ยงไข้หรือเปล่าเนี่ย?

รักษากับหมอคนนี้มานานไม่หายสักที หมอเลี้ยงไข้ไข้ไม่ยอมรักษาให้หายเพราะอยากได้เงินของคนไข้ อยากให้คนไข้รักษากันไปนานๆหรือไม่.. โรคบางอย่างเป็นโรคเรื้อรัง รักษาอย่างไรก็ไม่มีวันหายทั้งโรคเบาหวาน ความดัน โรคตับแข็ง โรคไตจิปาถะ หมอเทวดาก็ยังรักษาไม่หาย แค่อาจควบคุมทำให้อาการทุเลาลงได้ แต่ต้องติดตามดูแลกันไปตลอด บางช่วงที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นอะไร แต่หมอกลับต้องติดตามคอยเฝ้าระวังมิให้มีภาวะแทรกซ้อนตามมา การที่หมอบางคนมีปัญหาในการพูดคุยสื่อสารอาจทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดได้ว่า “หมอเลี้ยงไข้หรือเปล่า?” แน่นอนว่าหมอส่วนใหญ่ที่เปิดคลินิกหรือทำงานในระบบเอกชน อยากให้มีคนไข้เยอะๆ แต่เชื่อเถอะว่าไม่มีหมอคนไหนจะรักษาโรคไม่ยอมหาย เพื่อจะได้เงินจากการจ่ายยา หรือรักษาคนไข้นานๆ.. เป็นความภูมิใจมากกว่า ถ้าเรารักษาแล้วคนไข้หายจากโรคอย่างเด็ดขาดหรือมีอาการดีขึ้นในเร็ววัน

2. หมอจ่ายยาเยอะ อยากขายยาหรือเปล่า?

ขอยืนยันว่ามีหมอที่ทำแบบนี้จริงๆ แต่อยากชี้แจงให้กับหมอส่วนใหญ่ว่าบางครั้งการใช้ยาบางประเภทจำเป็นต้องให้ติดต่อกันเป็นเวลานาน 1- 3 สัปดาห์ ครั้นจะให้ยาน้อยกว่านั้นก็เกรงว่าจะทำให้เชื้อโรคไม่หายขาด เดี๋ยวคนไข้จะหาว่าเลี้ยงไข้อีก และด้วยเหตุที่ยาหลายชนิดในปัจจุบันมีประสิทธิภาพดีขึ้นมาก หมอบางคนก็มักจะจ่ายยาตามอาการมากมายแก่คนไข้ด้วยความหวังดีจริงๆ อย่างไรก็ตาม เราควรสอบถามหมอหรือเภสัชกรผู้จ่ายยา ก่อนที่เราจะรับยาทุกครั้งว่า ยาที่เราได้รับต่อไปนี้ไม่เกินความจำเป็นจริงๆ นะ

3. หมอคนนี้จ่ายยาอ่อนไป รักษาแล้วไม่หาย

ต้องบอกว่ายายิ่งแรง โอกาสเกิดผลข้างเคียงก็ยิ่งมาก โอกาสเกิดการดื้อยาก็ยิ่งสูง โดยเฉพาะยากลุ่มปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) บางครั้งคนไข้รู้สึกว่าการกินยาได้ผลดีสู้กับการฉีดยาไม่ได้ ซึ่งอาจเป็นความจริงสำหรับยาบางประเภทที่อาจถูกรบกวนด้วยกรดสารบางอย่างในกระเพาะหรือทางเดินอาหารหรืออาจเป็นเพราะยากิน อาจมีการผสมเม็ดยาหรือแคปซูลไม่ได้มาตรฐานเพียงพอทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่ดีเพียงพอ แค่หากเราสามารถรับประทานได้ตามปกติ ไม่มีอาการ คลื่นไส้อาเจียน หรือไม่มีความผิดปกติของทางเดินอาหาร ก็ใช้ยาชนิดรับประทานหรือยากินก็ได้ผลก็จะได้ผลเท่าเทียมกับยาฉีดนั่นเอง และเราต้องไม่ลืมว่ายาบางชนิดก็ไม่สามารถผลิตออกมาในรูปแบบยาฉีด หรือถึงแม้ว่ามีก็อาจมีราคาสูงมากกว่ามาก และที่สำคัญ การฉีดยาไม่ว่าจะเข้ากล้ามเนื้อหรือเส้นเลือด ก็มีโอกาสเกิดการแพ้ยาเป็นอันตรายได้มากกว่า

4. อยากตรวจกับหมอใหญ่มากกว่า

บางทีเราเจอหมอหน้าเด็กๆ รักษาด้วยแล้วรู้สึกกังวล เพิ่งจบมาจะมีความรู้หรือมีประสบการณ์หรือไม่ เราควรทราบว่าความรู้เกี่ยวกับโรคและการรักษากว่า 80% หมอเกือบทุกคนไม่ว่าจะใหม่หรือเก่าก็รู้เหมือนๆ กัน ไม่แตกต่างกัน แน่นอนว่าหากเราไม่มั่นใจในความรู้ความสามารถของหมอ เราสามารถขอความเห็นที่ 2 จากหมอท่านอื่นๆ ได้ โดยไม่ได้เป็นการเสียมารยาทแต่อย่างใด แต่เราต้องมั่นใจว่า จะขอเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น คนไข้ส่วนมากรู้สึกว่าการมีโอกาสได้ตรวจกับหมออาวุโส หรือหมอที่เป็นหัวหน้าแผนก หรือ “หมอใหญ่” จะมีความสนใจในทักษะและประสบการณ์ที่น่าจะมีมาก แต่เราก็ต้องไม่ลืมว่าบางทีหมอใหญ่ ก็อาจมีเวลาน้อย ไม่ค่อยได้พูดคุยแนะนำคนไข้ และบางครั้งอาจจะมีอาการหลงลืมได้บ้างเหมือนกัน

5. หมอผ่าตัดผู้หญิง หมอสูติผู้ชาย

เรื่องนี้ในฐานะแพทย์ขอยืนยันเป็นพยานได้ว่า หมอผู้ชายหรือหมอผู้หญิงไม่ค่อยมีความแตกต่างกับจริงๆ หมอผุ้หญิงอาจมีความแข็งแรงทางสรีระน้อยกว่าผู้ชาย แต่อย่าลืมว่าการรักษาหรือการผ่าตัดมิใช่การแบกกระสอบข้าวสาร ดังนั้นหมอผู้หญิงจึงแกร่งไม่น้อยกว่าหมอผู้ชาย ส่วนสุภาพสตรีที่อายหมอโดยเฉพาะหมอสูติผู้ชาย ต้องเลือกตรวจเฉพาะหมอสูติผู้หญิง ซึ่งอาจมีน้อยและต้องรอนาน โปรดรับทราบและเข้าใจตรงกันว่า คุณหมอสูติที่เป็นผู้ชายท่านเห็นมาจนเบื่อแล้ว ไม่มีความรู้สึกนึกคิดใดๆ เวลาตรวจภายในคุณสุภาพสตรีเลย เพราะฉะนั้นจงทำใจให้สบายๆ อย่าเขินหมอแล้วหมอจะได้ไม่เขินคุณด้วย

6. หมอรวยอยู่แล้ว กลัวอะไรกับการโดนฟ้อง

คนละเรื่องกันเลยนะครับ หมอทุกคนกลัวโดนฟ้องทั้งนั้นแหละครับ ไม่มีหมอคนไหนมีเจตนาร้าย ทำร้ายให้คนไข้เจ็บตัว เจ็บฟรีหรือมีภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะถ้าคนไข้ต้องเสียชีวิตจากการรักษาเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตของหมอทุกคน ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เล่นๆ แน่นอน ความผิดพลาดส่วนใหญ่มักเกิดจากความผิดพลาดที่อาจเกิดได้ในฐานะปุถุชนธรรมดา มิได้เกิดจากเจตนาที่ไม่ดีหรือโอกาสโดยความตั้งใจ เวลาที่มีผู้ป่วยร้องเรียนยังมิได้ถูกฟ้องร้องหรอก หมอส่วนใหญ่ก็แทบจะไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงานเท่าไร เลยพลอยทำให้คนไข้จำนวนหนึ่งอาจได้รับผลกระทบตามไปด้วยเป็นลูกโซ่

ส่วนที่ว่าหมอรวยอยู่แล้วก็ไม่จริงนะครับ โดยเฉลี่ยแล้วหมอเป็นอาชีพที่มีฐานะมั่นคง เพราะมีงานการเป็นหลักเป็นแหล่งมั่นคง ทำงานตั้งแต่เพิ่งเรียนจบและมีลักษณะนิสัยค่อนข้างขยันอยู่แล้ว จึงทำให้ภาพรวมของหมอจึงมีฐานะดีกว่าอาชีพโดยทั่วไป แต่หมอที่ร่ำรวยจากการรักษาเปิดคลินิก เปิดโรงพยาบาลก็มีอยู่จำนวนหนึ่ง แต่อย่าลืมว่าความร่ำรวยนั้นมาจากการทำธุรกิจมิใช่จากความเป็นหมอแต่อย่างใด หมอที่ร่ำรวยมากๆ ในปัจจุบันก็มักเป็นเพราะทำธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์มากกว่า

7. อะไรกัน! คุณหมอป่วยได้ด้วยเหรอ?

ได้ซิครับ หมอก็เป็นคนธรรมดา เป็นหวัด เป็นไข้ ตาแดง ท้องเสียได้เหมือนทุกคนแหละครับ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลมีเชื้อโรคแปลกๆ แตกต่างมากมาย บางทีหมอก็พักผ่อนน้อย มีความเครียดสูง โอกาสไม่สบายก็มีมาก หมอส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาหรือแม้มีก็ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย โรคที่หมอเป็นกันมากที่สุด คือ โรคหัวใจและหลอดเลือดเหมือนกัน อายุขัยโดยเฉลี่ยของหมอไทยค่อนข้างต่ำกว่าอายุไขเฉลี่ยของคนไทยนะครับ ใครที่ไปยืนแอบสูบบุหรี่ในโรงพยาบาล คุณจะมีโอกาสได้เจอพวกหมอยืนสูบบุหรี่อยู่ใกล้ๆ กัน

7 เกร็ดความจริงที่หลายคนอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณหมอมาโดยตลอด หรืออาจจะรู้อยู่แล้วหลงลืมไป หวังว่าคงเป็นความจริงที่จะช่วยสานความเข้าใจระหว่างคนไข้-หมอได้ดียิ่งขึ้น ความสัมพันธ์จะได้กลับมาเป็นความสัมพันธ์แบบน่ารักๆ เหมือนอย่างในสมัยก่อน หรืออย่างน้อยเวลาไปโรงพยาบาล แล้วได้รับการรักษาที่ไม่ประทับใจ ก็ลองนึกถึงเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่เล่าให้ฟังวันนี้ อาจพอทำให้ “โกรธหมอ” น้อยลงได้บ้าง

ที่มา : รศ.นพ.คมกริช ฐานิสโร
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีร่วมรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง
รพ.วัฒโนสถ และการรักษาโรคผ่านหลอดเลือด รพ.หัวใจกรุงเทพ

อ้างอิง http://www.bangkokhealth.com

ไข้หวัดหมูไอโอวา เชื้อหวัดสายพันธุ์ใหม่

ไข้หวัดหมูไอโอวา เชื้อหวัดสายพันธุ์ใหม่

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค หรือ CDC (Centers for Disease Control and Prevention) ประเทศสหรัฐอเมริกา แจ้งเตือนทั่วโลกให้ระวัง “ไข้หวัดหมูสายพันธุ์ใหม่” คือสายพันธุ์ S-OtrH3N2 ที่สามารถติดต่อสู่คนได้ เนื่องจากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 7 รายโดยพบที่มลรัฐเพนซิลวาเนีย 3 ราย มลรัฐเมน 2 ราย และมลรัฐอินเดียนา 2 ราย ผู้ป่วยทุกรายเคยสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดหมูก่อนที่จะป่วย และเมื่อเดือนพฤศจิกายนพบเด็กที่ติดเชื้อเพิ่มอีก 3 รายที่มลรัฐไอโอวา โดยเด็กทั้งสามไม่เคยสัมผัสกับหมูมาก่อน จึงเป็นไปได้ว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ นอกจากนี้มีแนวโน้มที่จะพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดหมูไอโอวาเพิ่มขึ้น

“เชื้อไข้หวัดหมูไอโอวา” คืออะไร?

เชื้อไข้หวัดหมูไอโอวา หรือไข้หวัดหมูสายพันธุ์ใหม่ เกิดจากการรวมตัวของไวรัสไข้หวัดสองสายพันธุ์ คือสายพันธุ์ Influenza H3N2 ที่ทำให้เกิดโรคหวัดในหมู กับสายพันธุ์ Influenza H1N1 ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ในคนและเคยแพร่ระบาดมาแล้วทั่วโลกเมื่อปี พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา จากการรวมตัวของไวรัสสองสายพันธุ์นี้ ทำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดใหม่คือสายพันธุ์ S-OtrH3N2 ซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่เคยมีภูมิคุ้มกันเชื้อโรคนี้มาก่อน ทำให้เสี่ยงที่จะป่วยจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้

“ไข้หวัดหมูไอโอวา” มีอาการอย่างไร?

รายละเอียดอาการของเด็กทั้งสามคนที่ติดเชื้อไข้หวัดหมูไอโอวา มีดังนี้

รายที่ 1 เป็นเด็กผู้หญิงที่แข็งแรงมาตลอด ไม่เคยมีโรคประจำตัว เริ่มมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่
รายที่ 2 เป็นเด็กผู้ชาย เริ่มมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่หลังจากที่เด็กรายที่ 1 ป่วยได้สองวัน
รายที่ 3 เป็นพี่ชายของเด็กรายที่ 2 เริ่มมีอาการหลังจากน้องชายป่วยได้หนึ่งวัน

ผลการตรวจเสมหะทั้งสามรายพบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ S-OtrH3N2 เหมือนกัน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้ติดเชื้อน่าจะเกิดจากการที่เด็กทั้งสามคนเคยไปร่วมงานเลี้ยงเดียวกัน และอยู่ใกล้ชิดกัน ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงที่เด็กรายที่ 1 เริ่มมีอาการนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กทั้งสามคนรวมถึงสมาชิกทุกคนในครอบครัวไม่เคยมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับหมูมาก่อน จึงเป็นไปได้ว่าเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ชนิดนี้น่าจะแพร่ติดต่อจากคนสู่คนได้

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ใช้ป้องกันโรคไข้หวัดหมูไอโอวาได้หรือไม่?

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ในเด็กได้ แต่สามารถป้องกันการติดเชื้อในผู้ใหญ่ได้บางส่วนเท่านั้น ขณะนี้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ประเทศสหรัฐอเมริกา เตรียมมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดหมูไอโอวา และกำลังผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสสายพันธุ์ S-OtrH3N2 นี้โดยตรง

โรคนี้รักษาได้หรือไม่?

เชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้ดื้อต่อยาต้านไวรัสที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ ยาไรแมนตาดีน (rimantadine) และยาอะแมนตาดีน (amantadine) แต่สามารถรักษาได้ด้วยยาโอเซลทามิเวียร์ (osteltamivir หรือ Tamiflu®) และ ยาซานามิเวียร์ (zanamivir หรือ Relenza®)

กรณีที่สงสัยการติดเชื้อไข้หวัดหมูหรือไข้หวัดหมูไอโอวา ให้ส่งเสมหะตรวจเพื่อยืนยันสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส และพิจารณารักษาด้วยยาโอเซลทามิเวียร์ตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษา และต้องรายงานจำนวนผู้ป่วยไปยังศูนย์ควบคุมโรคทุกราย นอกจากนี้ยังแนะนำให้ประชาชนที่สัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดหมู เมื่อมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อทุกราย

ประเทศไทยเตรียมรับมือโรคนี้อย่างไร?

สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้เฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่อย่างใกล้ชิด รวมถึงเตรียมยาต้านไวรัสให้เพียงพอในกรณีที่เกิดการระบาด และแนะนำให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เพราะในช่วงหน้าหนาวจะมีผู้ป่วยเป็นไข้หวัดตามฤดูกาลจำนวนมากอยู่แล้ว สำหรับพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังหลังจากอุทกภัย ให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำหรือแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน และควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ปฏิบัติตามสุขอนามัยพื้นฐาน เช่นรับประทานอาหารที่สุกสะอาด ล้างมือเป็นประจำก่อนที่จะรับประทานอาหาร ตามแนวทางป้องกันโรคด้วยวิธี “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” อยู่เสมอ

อ้างอิง http://www.bangkokhealth.com

มารู้จักประวัติของอโรคา

โรค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
         โรค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ

ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดการทำหน้าที่ผิดปกติความกังวลใจปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บความพิการความผิดปกติกลุ่มอาการการติดเชื้ออาการ,พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษย์

แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
โรค
  • Health Topics, MedlinePlus คำอธิบายเกี่ยวกับโรคต่างๆ ซึ่งเชื่อมโยงไปยังบทความวิจัยในปัจจุบัน
  • OMIM แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับยีนที่ก่อโรคที่ Online Mendelian Inheritance in Man
  • CTD Comparative Toxicogenomics Database แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี ยีน และโรคของมนุษย์
  • NLM US National Library of Medicine ฐานข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพของสหรัฐอเมริกา
  • Health Topics A-Z ข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยจาก Center for Disease Control สหรัฐอเมริกา

มาทำความรู้จักอโรคากัน

โรค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
         โรค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ

ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดการทำหน้าที่ผิดปกติความกังวลใจปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บความพิการความผิดปกติกลุ่มอาการการติดเชื้ออาการ,พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษย์

แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
โรค
  • Health Topics, MedlinePlus คำอธิบายเกี่ยวกับโรคต่างๆ ซึ่งเชื่อมโยงไปยังบทความวิจัยในปัจจุบัน
  • OMIM แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับยีนที่ก่อโรคที่ Online Mendelian Inheritance in Man
  • CTD Comparative Toxicogenomics Database แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี ยีน และโรคของมนุษย์
  • NLM US National Library of Medicine ฐานข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพของสหรัฐอเมริกา
  • Health Topics A-Z ข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยจาก Center for Disease Control สหรัฐอเมริกา

มารู้จักโรคอุบัติใหม่กัน..

ความหมายของโรคติดต่ออุบัติใหม่

 

            โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging Infectious Diseases) หมาย ถึง โรคติดเชื้อชนิดใหม่ ๆ ที่มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในระยะประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา หรือ โรคติดเชื้อที่มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ รวมไปถึงโรคที่เกิดขึ้นใหม่ในที่ใดที่หนึ่ง หรือโรคที่เพิ่งจะแพร่ระบาดเข้าไปสู่อีกที่หนึ่ง และยังรวมถึงโรคติดเชื้อที่เคยควบคุมได้ด้วยยาปฏิชีวนะแต่เกิดการดื้อยา ตัวอย่างโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เช่น โรคเอดส์ ไข้หวัดใหญ่ สัตว์ปีกหรือไข้หวัดนก และวัณโรคดื้อยา เป็นต้น

             โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ (Re-emerging Infectious Diseases) หมายถึง โรคติดเชื้อที่เคยแพร่ระบาดในอดีต และสงบไปแล้วเป็นเวลานานหลายปี แต่กลับมาระบาดขึ้นอีก ตัวอย่างโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ เช่น วัณโรค ไข้เลือดออก และมาลาเรีย เป็นต้น

องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามโรคติดต่ออุบัติใหม่ว่าเป็นโรคติดต่อที่มี อุบัติการณ์ในมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงที่เพิ่งผ่านมา หรือมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งหมายความรวมถึงกลุ่มโรค 5 กลุ่มด้วยกันคือ

  1. โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อใหม่(new infectious diseases)
  2. โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ใหม่(new geographical areas)เป็นโรคที่มาจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง หรือข้ามทวีป เช่นซาร์ส
  3. โรคติดต่ออุบัติซ้ำ(Re-emerging infectious diseases) คือโรคติดต่อที่เคยระบาดในอดีตและสงบไปนานแล้วแต่กลับมาระบาดอีก เช่นกาฬโรค
  4. เชื้อโรคดื้อยา(Antimicrobial resistant organism)
  5. อาวุธชีวภาพ(Deliberate use of bio-weapons) โดยใช้เชื้อโรคหลายชนิดผลิตเป็นอาวุธ เช่น เชื้อแอนแทรกซ์ ไข้ทรพิษ

ความหมายของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ

 

สาเหตุและการป้องกันโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ
สาเหตุ
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ ได้แก่

  1. การเปลี่ยนแปลงวิธีการดำรงชีวิต เช่น การที่ผู้ปกครองนำบุตรไปฝากเลี้ยงที่สถานรับเลี้ยงเด็กอยู่ร่วมกันเป็นจำนวน มาก ถ้าสถานรับเลี้ยงเด็กจัดสถานที่และอาหารไม่สะอาด ไม่ถูกสุขลักษณะหรือดูแลเด็กไม่ดี อาจเกิดโรคอุจจาระร่วงและโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
  2. การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารดิบ หรืออาหารกระป๋อง ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ
  3. การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ทำให้เกิดการระบาดของโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  4. การใช้ยาเสพติดโดยการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ทำให้เกิดการระบาดของโรคเอดส์และไวรัสตับอักเสบ
  5. ความก้าวหน้าในการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนอวัยวะ ได้รับยาสเตียรอยด์หรือเคมีบำบัด ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย

การป้องกันประชาชนทุกคนสามารถที่จะป้องกันตนเองจากภาวะ เจ็บป่วยได้ด้วยการรักษาร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้เกิดภูมิต้านทานโรค โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย การพักผ่อน และผ่อนคลายความเครียด การบริหารจิต งดสิ่งเสพติดและพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ งดบุหรี่ มีสุขอนามัยที่ดี รักษาสิ่งแวดล้อม ติดตามข่าวสารต่าง ๆ เพื่อรับรู้ความเป็นไปของโลก เป็นต้น

• โรคทูลารีเมีย (Tularemia)

• โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดราและไวรัสนิปาห์ (Hendra and Nipah Viral Diseases)
• โรคติดเชื้อไวรัสฮานตา (Hantaviral Diseases)
• โรคคุดทะราด (YAWS)
• โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ) (Smallpox)
• กาฬโรค (Plague)
• โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis)
 ไข้เลือดออกอีโบลา (Ebola hemorrhagic fever)
• โรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis)
• ไข้เหลือง (Yellow fever)
• โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)
• ซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome)
• โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)
• ลีเจียนแนร์ (Legionellosis)
• ไข้ริฟต์ วาลเลย์ (Rift Valley fever, RVF)
 ไข้เลือดออกแอฟริกัน (African hemorrhagic fever)
• โรคโบทูลิซึ่ม (Butolism)

 

อ้างอิง กระทรวงควบคุมโรค (http://beid.ddc.moph.go.th/)

ความรู้เรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่

อ้างอิง กระทรวงควบคุมโรค (http://beid.ddc.moph.go.th/)